M42 – Meade LS8 เนบิวล่ากลุ่มดาวนายพราน โดย บริษัทกล้องดูดาว(ประเทศไทย)จำกัด

M42 – Meade LS8 เนบิวล่ากลุ่มดาวนายพราน โดย บริษัทกล้องดูดาว(ประเทศไทย)จำกัด

เรียบเรียงโดย สุรกิจ ตุงควรวิทย์

เนบิวล่าสว่างใหญ่ M42 ในกลุ่มดาวนายพรานตอน 2
หลังจากได้ ทดสอบ ประสิทธิภาพของ กล้องดูดาว Meade Polaris 130 (M42 เนบิวล่าสว่างใหญ่กลุ่มดาวนายพราน โดย บริษัทกล้องดูดาว(ประเทศไทย)จำกัด) พบว่า สามารถ ถ่ายภาพ เนบิวล่าสว่างใหญ่ ได้อย่างชัดเจน ทั้งที่อยู่ในสภาพแสงรบกวน ค่อนข้างสูง              ของกรุงเทพฯ
เมื่อท่านสังเกตใจกลางเนบิวล่า จะเห็นเหมือนกับ ดาวสว่างๆ ขยุกขยุย มองผิวเผินจะ  เหมือนเป็นดาวดวงเดียว แต่เมื่อใช้กำลังขยายสูงขึ้น จะพบว่าเป็นดาวฤกษ์หลายดวงรวมกัน        ซึ่งเรียกว่า trapezium ซึ่งเป็น กระจุกดาวเปิด open cluster
Trapezium นี้ได้ถูกค้นพบโดย กาลิเลโอ ในปี คศ 1617 เค้าได้ทำการวาดภาพที่เห็น ของดาว A ,C ,D และในปี คศ 1673 มีผู้ที่สามารถบันทึก ดาว B ไว้ได้อีกหลายคน และสุดท้ายในปี คศ 1888 สามารถบันทึกไว้ได้มากสุดที่ 8 ดวง
Trapezium เป็นกระจุกดาวที่เกิดขึ้นใหม่ จากเนบิวล่า
ดาวที่สว่างมากสุด 5 ลำดับแรก มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเรา 15-30 เท่า และมีระยะห่างกัน ของดาวแต่ละดวง ที่ประมาณ 1.5 ปีแสง

ตามข้อมูลความสว่างพบว่า ดาวที่เกิดใน Trapezium ที่มีความสว่างน้อยสุด H อยู่ที่ ประมาณ magnitude 15 ซึ่งภาพนี้ไม่น่าจะสามารถถ่ายขึ้นได้ในกรุงเทพฯ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีของ กล้องถ่ายภาพดาราศาสตร์ 12 Bit ZWO ASI224MC (color) และ กล้องดูดาวผสมอัตโนมัติ LS 8” ACF F/10 LIGHTSWITCH TELESCOPE ทำให้เราสามารถ เก็บภาพที่เราต้องการได้ในทุกสถานที่

ภาพที่ท่านเห็นนี้ ได้ถูกบันทึกขึ้นโดยใช้รายละเอียด ดังต่อไปนี้

ข้อมูลภาพ M42 Meade LS8 เนบิวล่ากลุ่มดาวนายพราน

ถ่ายภาพวันที่ 29/พย/58 เวลา 01:00 น
กล้องดูดาวผสมอัตโนมัติ LS 8” ACF F/10 LIGHTSWITCH TELESCOPE
กล้องถ่ายภาพดาราศาสตร์ 12 Bit ZWO ASI224MC (color)
Gain 200/ 1 sec/ 2400 รูป บันทึกในไฟล์ AVI
เตรียมภาพด้วย PIPP แยกแต่ละภาพจาก AVI เป็น TIFF
ใช้ Deepsky Stacker เรียงและรวมภาพ
PixInsight ปรับแต่งสีและความสว่าง
Photoshop จัดแต่งองค์ประกอบของรูป
ที่เขตประเวศ กรุงเทพฯ

สุดท้าย ขอสรุปว่า ความสามารถในการถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้า ไม่ได้ถูกจำกัด เฉพาะพื้นที่ ที่มืดสนิทในต่างจังหวัดเท่านั้น เราสามารถถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าได้ ในเกือบทุกสภาพ ที่ไม่ถูกรบกวนด้วย หมอก และ เมฆ ถ้าท่านพร้อมที่จะถ่ายภาพ ติดต่อเราได้ที่ 0870335559 เราพร้อมบริการให้คำแนะนำในการเลือกกล้องดูดาว จนถึงการถ่ายภาพดาวสวยๆ ได้อย่างนี้
ถ่ายโดย บริษัทกล้องดูดาว(ประเทศไทย)จำกัด  (C.Visarathanonth)