เรามาทำความรู้จักกับ กล้องดูดาวหักเหแสง (Refractor Telescope)
กล้องดูดาวหักเหแสง (Refractor Telescope) คืออะไร ดีอย่างไร เหมาะกับการดูดาวแบบไหน กล้องดูดาวหักเหแสงคือ กล้องดูดาว ที่ใช้เลนส์หน้ากล้อง (objective lense) ในการหักเหแสงที่ผ่านเข้ามาด้านหน้า กล้องดูดาว ให้รวมกันเป็นจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นระยะโฟกัสของเลนส์ ที่ได้กำหนดไว้จากความโค้งของผิวเลนส์ กล้องดูดาวหักเหแสง มีความโดดเด่นในเรื่องของประสิทธิภาพ ความคมชัดที่สูง กว่า กล้องดูดาว ประเภทอื่น ๆ โดยขนาดสามารถพกพาได้ง่าย น้ำหนักไม่มาก จึงทำให้นักดูดาวทั่วโลกต่างชื่นชอบ กล้องดูดาวหักเหแสง ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ กล้องดูดาวหักเหแสง จะใช้วิธีการดู กล้องดูดาว ผ่านด้านท้ายของของ กล้องดูดาว ซึ่งอยู่ต่ำกว่าด้านหน้า ปลายด้านหน้าของ กล้องจะชี้สูงกว่าตัวผู้ดูไปยังดาว หรือวัตถุท้องฟ้าที่ส่องดูเสมอ ดังนั้นความยาวของ กล้อง จะยาวประมาณ 80 % ของ ความยาวโฟกัส ของ เลนส์วัตถุ ซึ่งถ้าเป็นผู้ชอบ กล้องดูดาวหักเหแสง ที่ความยาวโฟกัสสูงๆ อาจจะต้องใช้ กล้องดูดาวหักเหแสง ที่มีความยาวของท่อที่ค่อนข้างยาวเป็นพิเศษ
วิธีประกอบกล้องดูดาว วิธีตั้งกล้องดูดาว วิธีใช้กล้องดูดาว
สำหรับ กล้องดูดาวที่เราจะนำมาสาธิต วิธีประกอบกล้องดูดาว วิธีตั้งกล้องดูดาว วิธีใช้กล้องดูดาว เป็นกล้องดูดาวแบบหักเหแสง ฐานตั้งกล้องดูดาวแบบอิเควตอเรียล รุ่น
กล้องดูดาวหักเหแสง อิเควตอเรียล AstroView 120ST
How to Setup Orion AstroView 120ST Equatorial Refractor Telescope
อุปกรณ์ต่างๆ ที่มาในชุดกล้องดูดาว ประกอบด้วย ส่วนต่างๆ ดังนี้
- ขาตั้งกล้องดูดาว 3 ขา (tripods)
- ถาดล็อคขาตั้งกล้องดูดาวและวางอุปกรณ์ (tray)
- เมาท์ หรือฐานตั้งกล้อง แบบอิเควตอเรียล (equatorial mount)
- แกนลูกตุ้มถ่วงน้ำหนัก กล้องดูดาว (steel rod)
- ลูกตุ้มเหล็กถ่วงน้ำหนัก กล้องดูดาว (weight)
- ก้านปรับละเอียด RA / DEC (control cable)
- ตัวหัวกล้องดูดาว (telescope optical tube)
- กล้องเล็งดาว (finder scope)
- ไดอากอนอล (diagonal)เลนส์ใกล้ตา (eyepiece) ขนาด 1.25 นิ้ว ความยาวโฟกัส 25 มม. และ ความยาวโฟกัส 10 มม.
ทำความรู้จักกับอุปกรณ์ต่างๆ เรียบร้อยแล้ว เรามาเริ่มกันเลย กับขั้นตอนต่างๆ ในการประกอบกล้องดูดาว การติดตั้งกล้องดูดาว การใช้งานกล้องดูดาว
ขาตั้งกล้องดูดาว แบบอิเควตอเรียล
วิธีประกอบกล้องดูดาว วิธีติดตั้งกล้องดูดาว แบบอิเควตอเรียล วิธีใช้งานกล้องดูดาว ขั้นตอนที่ 1
กางขาตั้งกล้องดูดาว พร้อมปรับระดับความสูงให้พอเหมาะกับการใช้งาน โดยคลายน๊อตที่ด้านข้างขาตั้งกล้องดูดาวและปรับระดับสูงต่ำ
ใส่ถาดล็อคขาตั้งกล้องดูดาวและวางอุปกรณ์ (tray) โดยขันน๊อตหางปลายึดจากด้านล่าง
วาง เมาท์กล้องดูดาว อิเควตอเรียล ลงบนขาตั้งโดยให้ด้านหน้าที่มีแกนเหล็กสีดำอยู่คู่กับน๊อคกลมพลาสติกสีดำ แล้วขันน๊อตยึดด้านล่าง(ในการขันน๊อตไม่ควรขันจนแน่นเกินไป)
ทำการไข T น๊อต สีเงินตัวยาวสุดเข้ากับเม้าท์ เพื่อใช้สำหรับการปรับมุมเงยของ ขาตั้งกล้องดูดาว จากนั้นปรับ T น๊อตเข้าด้านหลัง เมาท์กล้องดูดาว อิเควตอเรียล เพื่อใช้ปรับองศาละติจูดที่ใช้งานประเทศไทย แล้วเราควรจะปรับไว้กี่องศา !!
สำหรับการปรับมุมเงยของขาตั้งกล้องไว้ที่ 15 องศา ดังรูป หลักการทำงานของขาตั้งกล้องดูดาว แบบอิเควตอเรียล นั้นคือ การทาบแกนของขาตั้งกล้องดูดาว ให้ตรงกับแกนของโลก ซึ่งประเทศไทยนั้นอยู่ที่ ละติจูด 13 องศา เหนือ โดยเราก็สามารถปรับไว้คร่าว ๆ ที่ประมาณ 15 องศา และเมื่อเรานำขาตั้งกล้องดูดาวนี้ ชี้ไปทางทิศเหนือ จะทำให้ขาตั้งกล้องดูดาวนี้หมุนเพียงแค่แกนเดียวก็จะสามารถตามดาวทั่วทั้งท้องฟ้าได้อย่างง่ายดาย
วิธีประกอบกล้องดูดาว วิธีติดตั้งกล้องดูดาว แบบอิเควตอเรียล วิธีใช้งานกล้องดูดาว ขั้นตอนที่ 2
ส่วนสำคัญสำหรับ การตั้งกล้องดูดาว แบบอิเควตอเรียล คือ การประกอบ แกนเหล็กสำหรับรองรับลูกตุ้มเหล็กถ่วงน้ำหนัก กล้องดูดาว (weight)
ทำการใส่ลูกตุ้มเหล็กถ่วงน้ำหนัก ตามลำดับ ลูกตุ้มเหล็กถ่วงน้ำหนัก มีความสำคัญอย่างไร มีไว้เพื่อถ่วงน้ำหนักของตัวกล้องดูดาว ไม่ให้เสียสมดุลย์ และหนักต่อการทำงานของมอเตอร์ตามดาว สาเหตุที่ต้องติดตั้งลูกตุ้มก่อนติดตั้งกล้องดูดาว เพื่อป้องกันไม่ให้กล้องดูดาวเกิดการพลิกตกลงมา อันเนื่องมาจากไม่มีน้ำหนักถ่วง ซึ่งอาจทำให้กล้องดูดาวหมุนลงมากระทบขา และทำให้กระจก หรือตัวท่อของกล้องดูดาวได้รับความเสียหายได้ ส่วนระยะที่ใช้ควรจะเป็นด้านล่างสุดไว้ก่อน เพื่อสร้างสมดุลย์ ให้กับลูกตุ้มมากกว่า กล้องดูดาว และจะไม่ทำให้ เกิดการพลิกตกลงมาของกล้องดูดาว สุดท้าย จะต้องใส่นอตที่ปลายของแกนเหล็กด้วย ป้องการความผิดพลาดเช่น ลืมยึดลูกตุ้ม หรือยึดไม่แน่นทำให้ลูกตุ้มตกใส่เท้าท่าน ได้ !!!
ติดตั้งก้านปรับละเอียด บนตัวเมาท์กล้องดูดาว อิเควตอเรียล
(ก้านปรับละเอียดทั้งสองก้านสามารถสลับกันได้)
วิธีประกอบกล้องดูดาว วิธีติดตั้งกล้องดูดาว แบบอิเควตอเรียล วิธีใช้งานกล้องดูดาว ขั้นตอนที่ 3
ติดตั้ง ส่วนหัวของกล้องดูดาว โดยหันด้านหน้ากล้องดูดาว ไปทางด้านแกนลูกตุ้มถ่วงน้ำหนักกล้องดูดาว และล๊อคน๊อต (น๊อตตัวสีดำใหญ่ เป็นตัวล๊อคกล้องดูดาว ตัวสีเงิน เป็นน๊อตกัน กล้องดูดาว เลื่อนตก)
วิธีการประกอบ กล้องเล็งดาว 6×30 ให้มีลักษณะดังรูป โดยใช้น๊อตยึดที่ฐาน กล้องเล็งดาว (สีเงิน) ให้พอตึงมือ และกล้องเล็งไม่หลุดโดยง่าย
หลังจากที่ทำการติดตั้งกล้องเล็งดาว แล้วให้ทำการสวม ไดอากอนอล 1.25″ 90° Mirror Star พร้อมกับขันน๊อตเพื่อยึด ไดอากอนอล ไว้กับกล้องดูดาว
เมื่อเราติดตั้ง ไดอากอนอล แล้วให้ทำการสวม เลนส์ใกล้ตา แบบ Sirius Plossl 25.0mm หรือ 10.0mm (1.25″) โดยหมุนนอตให้แค่พอตึงมือ ข้อควรระวัง ไม่ควรหมุนน้อยไปจนยึดไม่อยู่ หรือหมุนแน่นจนเลนส์ใกล้ตาอาจเกิดการเสียหายได้ วิธีตรวจสอบนะครับ ว่าเลนส์ใกล้ตาได้ถูกยึดไว้อย่างเหมาะสมหรือไม่เพียงแค่ ใช้มือดึง เลนส์ใกล้ตาออกมาเบา ๆ เท่านั้น ถ้าดึงไม่ออกก็เป็นอันว่า เรียบร้อยครับ ใช้ได้แล้วครับ
เพียงเท่านี้ ก็พร้อมใช้งาน ไม่ยากใช่มั้ยครับ สำหรับการประกอบกล้องดูดาว แบบขาตั้งกล้องดูดาวแบบอิเควตอเรียล การติดตั้ง กล้องดูดาว การใช้งาน กล้องดูดาว อิเควตอเรียล
Instruction Manual
EN: Orion AstroView 120ST EQ Refractor Telescope