กล้องดูดาวหักเหแสง STARPRO AZ Series Refractor telescope

อุปกรณ์ต่างๆ ที่มาในชุดกล้องดูดาว ประกอบด้วย ส่วนต่างๆ ดังนี้

- ขาตั้งกล้องดูดาว 3 ขา (tripods)
- ตัวหัวกล้องดูดาว (telescope optical tube)
- ก้านอ่อนปรับละเอียด แกนหมุนในแนวนอนสำหรับปรับค่ามุมทิศ (Azimuth)
- ก้านอ่อนปรับละเอียด แกนหมุนในแนวดิ่งสำหรับปรับค่ามุมเงย (Altitude)
- ที่ล๊อคแกนหมุนในแนวดิ่งสำหรับปรับค่ามุมเงย (Altitude)
- ที่ล๊อคแกนหมุนในแนวนอนสำหรับปรับค่ามุมทิศ (Azimuth)
- น๊อตล๊อคตัวกล้องดูดาวกับฐานตั้งกล้องดูดาว
- กล้องเล็งดาวจุดแดง (Reddot finder scope)
- โฟกัสเซอร์ (Focuser)
- ไดอากอนอล (diagonal)
- เลนส์ใกล้ตา (eyepiece) ขนาด 1.25 นิ้ว ความยาวโฟกัส 26 มม.
, ความยาวโฟกัส 9 มม. , ความยาวโฟกัส 6.3 มม. - ฝาปิดหน้ากล้องดูดาว
- เลนส์เสริม 2x Barlow Lens เพิ่มความยาวโฟกัสของกล้องดูดาวได้ 2 เท่า
- อุปกรณ์เสริม Smart Phone Adapter
คู่มือ วิธีประกอบกล้องดูดาวหักเหแสง STARPRO AZ Series
ขั้นตอนที่ 1 การประกอบกล้องดูดาว วิธีตั้งกล้องดูดาว

กางขาตั้งกล้องดูดาวออกให้สุดแล้วหมุนน๊อตพลาสติกสีดำเพื่อล๊อคขาตั้งกล้องดูดาวพร้อมปรับระดับความสูงของขาตั้งกล้องดูดาวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

ติดตั้งก้านอ่อนปรับละเอียด แกนหมุนในแนวนอนสำหรับปรับค่ามุมทิศ (Azimuth)
และก้านอ่อนปรับละเอียด แกนหมุนในแนวดิ่งสำหรับปรับค่ามุมเงย (Altitude) บนตัวเมาท์
(ก้านอ่อนปรับละเอียด ALT / AZ 2 ก้าน สามารถสลับกันได้)

ตัวล๊อคแกนหมุนในแนวนอน สำหรับปรับค่ามุมทิศ (Azimuth) หากต้องการปรับหยาบ ให้คลายล๊อค ขณะล๊อคให้ใช้งานก้านอ่อนปรับละเอียดเท่านั้น มิฉะนั้นอาจเกิดความเสียหายกับเฟืองด้านในได้

ตัวล๊อคแกนหมุนในแนวดิ่ง สำหรับปรับค่ามุมเงย (Altitude) หากต้องการปรับหยาบ ให้คลายล๊อค ขณะล๊อคให้ใช้งานก้านอ่อนปรับละเอียดเท่านั้น มิฉะนั้นอาจเกิดความเสียหายกับเฟืองด้านในได้
คู่มือ วิธีประกอบกล้องดูดาวหักเหแสง STARPRO AZ Series
ขั้นตอนที่ 2 การประกอบกล้องดูดาว วิธีตั้งกล้องดูดาว

ติดตั้งตัวหัวกล้องดูดาว (telescope optical tube) โดยหันด้านหน้าของกล้องดูดาว ไปทางด้านตรงข้าม กับก้านอ่อนปรับละเอียด แกนหมุนในแนวดิ่งสำหรับปรับค่ามุมเงย (Altitude) และล๊อคน๊อตตัว (สีดำใหญ่) เพื่อล๊อคหัวกล้องดูดาว Starpro AZ

วิธีการประกอบ กล้องเล็งดาวจุดแดง ให้มีลักษณะดังรูป โดยใช้น๊อตยึดที่ฐาน กล้องเล็งดาว (สีเงิน) หลังจากที่ทำการติดตั้งกล้องเล็งดาว

แล้วให้ทำการสวม ไดอากอนอล 1 .25″ 90 Degree Erect-Image Diagonal พร้อมกับขันน๊อตเพื่อยึด ไดอากอนอล ไว้กับกล้องดูดาว

หลังจากที่ติดตั้งไดอากอนอล แล้วให้ทำการสวม เลนส์ใกล้ ข้อควรระวัง ไม่ควรหมุนน้อยไปจนยึดไม่อยู่ หรือหมุนแน่นจนเลนส์ใกล้ตาอาจเกิดการเสียหายได้ วิธีตรวจสอบนะครับ ว่าเลนส์ใกล้ตา ได้ถูกยึดไว้อย่างเหมาะสมหรือไม่เพียงแค่ ใช้มือดึง เลนส์ใกล้ตาออกมาเบา ๆ เท่านั้น ถ้าดึงไม่ออกก็เป็นอันว่า เรียบร้อยครับ ใช้ได้แล้วครับ
วิธีการใช้เลนส์ใกล้ตา ขนาดต่างๆ

เลนส์ใกล้ตาที่ให้มาในชุด มี 3 ชิ้น การใช้งานแต่ละชิ้น ให้เรียงลำดับการใช้งาน จากกำลังขยายต่ำที่สุด จากนั้นจึงขยับกำลังขยายสูงขึ้นเป็นลำดับ ดังนี้
1. เลนส์ใกล้ตา (eyepiece) ขนาด 1.25 นิ้ว ความยาวโฟกัส 26 มม. ใช้เลนส์ใกล้ตา ชิ้นนี้ก่อนทุกครั้งไม่ว่าจะดูดาว หรือดูวิวทิวทรรศน์ เนื่องจากมีกำลังขยายต่ำที่สุด จึงทำให้สามารถหาวัตถุได้ง่ายที่สุดด้วย
2. เลนส์ใกล้ตา (eyepiece) ขนาด 1.25 นิ้ว ความยาวโฟกัส 9 มม. ใช้เลนส์ใกล้ตา ชิ้นนี้เป็นอันดับ 2
3. เลนส์ใกล้ตา (eyepiece) ขนาด 1.25 นิ้ว ความยาวโฟกัส 6.3 มม. ใช้เลนส์ใกล้ตา ชิ้นนี้เป็นอันดับท้ายสุด
4. เลนส์เสริม 2x Barlow Lens เพิ่มความยาวโฟกัสของกล้องดูดาวได้ 2 เท่า
คำแนะนำ ก่อนทำการเปลี่ยนเลนส์ใกล้ตา ให้ปรับวัตถุที่ดูให้อยู่ตรงกลางของภาพก่อนเปลี่ยน !!!
วิธีตั้งกล้องเล็งดาวจุดแดง วิธีใช้กล้องเล็งดาวจุดแดง (Reddot finder scope)

- สวิทช์ เปิด – ปิด
- ปรัปจุดแดง ขึ้น / ลง
- ปรับจุดแดง ซ้าย / ขวา
ขั้นตอนการกล้องเล็งดาวจุดแดง (Reddot finder scope)

- เลือกวัตถุที่อยู่นิ่งๆ เช่น เสาไฟฟ้า หรืออาคาร ที่อยู่ไกลๆ 100 เมตร ขึ้นไป (ยิ่งไกลยิ่งได้ความแม่นยำ) ใช้เลนส์ใกล้ตา ที่มีความยาวโฟกัสสูงสุด (26มม.) เพื่อให้ได้ภาพกำลังขยายต่ำสุด ซึ่งจะทำให้เห็นมุมมองกว้างมากที่สุด และง่ายแก่การหาวัตถุมากที่สุด

2. เล็งกล้องดูดาวไปยังวัตถุที่ได้เลือกไว้ โดยใช้วิธี การใต่วัตถุจากพื้นราบไปเรื่อยๆ จากวัตถุที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เราเลือกเป็นเป้าหมาย

3. ปรับกล้องเล็งดาวจุดแดง ด้วยปุ่มปรับ ขึ้น/ลง , ซ้าย/ขวา ให้จุดแดงอยู่ตรงกลางของภาพที่เห็นจากกล้องดูดาว ดังรูปตัวอย่าง
4. ทดสอบการปรับตั้ง โดยการใช้กล้องเล็งดาวจุดแดง ว่าตำแหน่งจุดแดง ตรงกับกล้องดูดาวหรือไม่ ด้วยการเล็งเปลี่ยนวัตถุใหม่ หากตั้งตรงกันแล้ว ในการใช้งานเมื่อนำจุดแดงไปทับบนตำแหน่งของวัตถุที่เราต้องการ วัตถุเป้าหมายจะปรากฏเป็นภาพที่ได้จากกล้องดูดาว